วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

จุลินทรีย์



จุลินทรีย์
จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (อังกฤษmicroorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ โดยแต่ละเซลล์เป็นอิสระจากกัน



จุลินทรีย์มหัศจรรย์ 8 เซียน

ใช้ในการบำบัดน้ำเสียและการทำเกษตรอินทรีย์

                วันนี้จะมาพูดถึงการคิดค้นต่อยอดจากหลายๆ ฝ่ายหลายที่ เกี่ยวกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ ได้ลองผิดลองถูกใช้เวลา 5 ปี และได้วิธีทำจุลินทรีย์มหัศจรรย์ 8 เซียน คือ 
    - นำน้ำมะพร้าว 1 ผล จะมีสารไซโตไคนิน น้ำตาล วิตามิน เกลือแร่ ฯลฯ ที่สารตัวหนึ่งในน้ำมะพร้าวที่สามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้นำมาเป็นอาหารจุลินทรีย์ 
    - นำนมเปรี้ยว 1 ขวด ในท้องตลาดยี่ห้อใดก็ได้ 
    - เอากากน้ำตาลใส่ 1 ช้อนชา หรือซีอิ้วดำ
    - และน้ำข้าวหมากซึ่งมียีสต์อยู่ตัวหนึ่งนำมาเทใส่ขวด ปิดฝาขวดให้สนิท  เหลือช่องว่างไว้สัก 2-3 นิ้ว เพื่อไว้ให้จุลินทรีย์บางตัวหายใจ 
    - หมักไว้ 7 วัน จะเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์อย่างมหัศจรรย์ และไม่เหม็น 

แล้วนำจุลินทรีย์ตัวนี้มาขยาย เป็น 8 พลัง คือ

     1. จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุ เป็น พลังที่ 1 

     2. กากน้ำตาล เป็นอาหารจุลินทรีย์ เป็น พลังที่ 2
     3. สารชีวภาพสำหรับป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช วิธีผสม หัวเชื้อที่ทำมา 1 แก้ว กากน้ำตาล 1 แก้ว เหล้าขาว 2 แก้ว น้ำส้มสายชูกลั่น 5% อีก 1 แก้ว คนปนกัน ใส่ถังหมักไว้ 24 ชั่วโมง ใส่น้ำฉีดพ่นแมลงได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง เป็น พลังที่ 3
     4. นำผลไม้สีเหลืองมาหมัก เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก สับปะรด ใส่ถัง แล้วนำกากน้ำตาลใส่ 1 แก้ว หัวเชื้อที่ทำเองอีก 1 แก้ว นำไปเทใส่ถัง แล้วเทน้ำลงไป เหลือช่องว่างในถังประมาณ 1 คืบ ไว้ให้จุลินทรีย์หายใจ คนให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 7 วัน กรองน้ำมาใส่ขวด เรียกว่า ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืชและผลไม้ เป็น พลังที่ 4


     5. นำใบไม้ มาแยกหมัก คือ ยอดสมุนไพรต่างๆ เช่น ใบหูเสือ ยี่หล่า สาระแหน่ สาบเสือ ใบชะพู ตำลึง ผักบุ้ง เป็นต้น นำหัวเชื้อที่ทำเองมาหมักย่อยออกมาใส่ถังหมัก ใส่กากน้ำตาล หมักไว้ 7 วัน เป็นสารสกัดพืชหมัก ป้องกันรากเน่า โคนเน่า ใบเป็นจุด เป็นต้น ใช้ฉีดพ่นรดรากของพืช เป็น พลังที่ 5 
     6. ปุ๋ยน้ำชีวภาพ นำเศษอาหารมาทำ ใส่หัวเชื้อที่ทำ พร้อมกากน้ำตาล ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ดีที่สุดคือทำจากเศษอาหาร เป็น พลังที่ 6



  


 7. นำน้ำซาวข้าวมาหมัก เป็น พลังที่ 7
 8. นำปลามาหมัก หอยเชอรี่มาหมักไว้ในโอ่งมังกรจะใช้เวลาน้อยกว่าในถังพลาสติก ใส่ครึ่งถัง ใส่หัวเชื้อที่ทำ 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร มะกรูดผ่าซีกประมาณ 40 ลูก นำกระชายเหลืองประมาณ 1 กำมือ รำอ่อนอีก 1 กก. ตำให้แหลก และเทน้ำลงเหลือไว้ประมาณ 1 คืบ คนให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ประมาณ 21 วัน แล้วกรองใส่ขวด สามารถนำไปฉีดที่พืช สามารถเร่งการเจริญโต เป็น พลังที่ 8

เมื่อนำทั้ง 8 อย่างมาเทรวมกันอย่างละ 1 ลิตร เรียกว่าหัวเชื้อ 8 พลัง นำไปเป็นหัวเชื้อทำปุ๋ยอย่างดี


ประโยชน์ของจุลินทรีย์ EM


E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร
                E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organismsหมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส  เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส  อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์  รา  ฯลฯ
               จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของ เซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย
ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
              เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือ ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
ลักษณะการผลิต
                เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค
กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
กลุ่มจุลินทรีย์แอคทีโนมัยซีทส์
กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์
                  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
ด้านการเกษตร
ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหารแก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ
ด้านการประมง
ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี
ด้านสิ่งแวดล้อม
ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้
การเก็บรักษาจุลินทรีย์
                  สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 องศาเซลเซียส ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม
ข้อสังเกต
                    หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม


1 ความคิดเห็น:

  1. จุลินทรีย์ที่ทำจากน้ำมะพร้าวหมักครบตาม
    ขบวนการแล้วคนกินแล้วมีประโยชน์อะไรบ้างคะ

    ตอบลบ